วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2562

 Learning notes 11


28 October 2019 Attendance time 08:30 - 12:30





 Knowledge gained today 

วันนี้เข้าอารมเรื่อง สารนิทัศน์ 

ผศ.ดร.กรรณิการ์ สุสม ซึ่งเป็นผู้ให้ความรู้
องค์รวม (holistic)
กิจกรรมที่ 1 : ความกระตือรือร้น
กิจกรรมที่ 2 : ละลายพฤติกรรม
เช่น การทำให้บรรยากาศน่าเรียน
เพลงที่ 2 ได้อะไร ทำไมถึงมีการจัดกิจกรรม " มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน" มีความกล้าแสดงออก
เพลงที่ 3 เรียนรู้อะไรในเพลง

 ความหมาย
การใช้หลักฐานข้อมูลหรือเอกสารมาจัดทำเรียบเรียงอย่างเป็นระบบเพื่อเป็นเครื่องมือให้ครูนำมาไตร่ตรองสะท้อนความคิดอย่างมีหลักการจัดองค์ความรู้ในการพัฒนาวิชาชีพครู

 คุณค่าและความสำคัญ
เพื่อพัฒนาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยโดยการไตร่ตรองสะท้อนความคิดและการประเมินตนเอง กล่าวว่า   1. สารนิทัศน์การเรียนรู้ของเด็กสามารถสนองความต้องการในการ ประกันคุณภาพการจัดการศึกษาในสถานศึกษา
2. ครูที่จัดทำสารนิทัศน์มักจะสอนเด็กผ่านประสบการณ์ตรง
  3. ช่วยให้การสอนหรือการทำงานของครูมีประสิทธิภาพ
  4. ช่วยให้ครูจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้เหมาะสมกับพัฒนาการและศักยภาพของเด็ก

 กิจกรรมหลัก 4 กิจกรรมของกระบวนการเรียนรู้โดยใช้วิธีการไตร่ตรองสารนิทัศน์ 1. กิจกรรมการเก็บรวบรวมหลักฐาน 2. กิจกรรมแบบไตร่ตรองสะท้อนความคิด 3. กิจกรรมการนำเสนอความก้าวหน้าในการเรียนรู้ 4. กิจกรรมประชุมกลุ่มย่อยและประชุมกลุ่มใหญ่

 ประเภทของสารนิทัศน์ 1. บทสรุปโครงการ
บทสรุปโครงการเรื่องของขวัญระยะที่ 1: โครงการนี้เริ่มต้นโดยวันเกิดของน้องสตางค์ได้ตุ๊กตาหมีเป็นของขวัญจึงนำมาโรงเรียนด้วยเพื่อนๆสนใจและต่างก็พูดคุยกันเกี่ยวกับเรื่องของขวัญ
2. การสังเกตพัฒนาเด็ก บันทึกพฤติกรรมเด็ก (บันทึกสั้น)
ชื่อ : ด.ญ. ปิยวรรณ อายุ 4 ปี 5 เดือน
สถานที่ : ตลาดท่าน้ำนนท์
วันที่ : 15 มกราคม 2546
เวลา : 09:30 น.
กิจกรรม : ทัศนศึกษา
พฤติกรรม : น้องเดินไปถามพ่อค้าขายของขวัญ ลุงชื่ออะไรค่ะ ทำไมร้านลุงมีของขวัญเยอะจัง น้องเดินไปมองดูตุ๊กตาใกล้ๆ แล้วชี้ไปทางตุ๊กตาโดเรมอน แล้วถามคุณลุงว่าแพงไหมคะ หนูจะเก็บสตางค์มาซื้อ
3. พอร์ตฟอลิโอภาพถ่ายสะท้อนพัฒนาการเด็ก
การเรียนเรื่องของขวัญน้องสตางค์ได้ทดลองทำขนมเค้กจากวิทยากรโดยซักถามว่าขนมเค้กทำจากอะไรจะทานแล้วจะอ้วนไหมซึ่งเป็นการเรียนรู้อย่างลุ่มลึกตามที่สนใจเด็กฝึกค้นหาคำตอบด้วยตนเองอย่างเป็นระบบด้วยการลงมือปฏิบัติจริง
4. ผลงานเด็กรายบุคคลการวาดภาพในระยะแรก
เกี่ยวกับของขวัญของเด็กตามจินตนาการจากประสบการณ์ตรงน้องได้อธิบายความหมายเกี่ยวกับสิ่งที่วาดและควบคุมการใช้กล้ามเนื้อมือได้ดี
5. ผลงานเด็กแบบกลุ่มเด็กๆ
กำลังช่วยกันวาดภาพของขวัญแบบต่างๆมีทั้งขนมตุ๊กตาของเล่นโดยมีการแบ่งพื้นที่เพื่อจัดประเภทของของขวัญเด็กเรียนรู้การทำงานเป็นทีมมีการแบ่งบทบาทหน้าที่รับผิดชอบ
6. การสะท้อนตัวเอง
นักเรียน : น้องสตางค์เล่าว่าหนูภูมิใจมากที่ทำการ์ดอวยพรวันเกิดได้
ผู้ปกครอง : ชอบการสอนแบบนี้ ลูกมีคำถามใหม่ๆ ไปถามคุณแม่ อยากมาโรงเรียน อยากให้โรงเรียนสอนแบบนี้
ครู : การสอนแบบโครงการ เป็นการเรียนรู้ที่กลุ่มลึกที่ให้เด็กเรียนรู้อย่างมีคุณค่า และครูก็ได้เรียนรู้ไปพร้อมกับเด็ก

 จะเป็นการสะท้อนตัวเองหลังได้ฟังคำบรรยาย  


 เป็นการสะท้อนพัฒนาการวาดเขียนด้วยสีเทียน


คำถามที่ครูควรใช้ถามเด็กปฐมวัยแยกเป็น 2 ประเภท
1. คำถามที่ถามให้ใช้ความคิดพื้นฐานเป็นคำถามที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงทบทวนความรู้และการให้ความหมายคำถามประเภทนี้ได้แก่ 1.1คำถามให้สังเกตเช่น
1.1.1 จากการที่ครูผ่าส้มผลนี้เด็ก ๆ เห็นอะไรบ้าง 1.1.2 ในรูปนี้เด็กเห็นอะไรบ้าง 1.2 คำถามทบทวนความจำ
1.2.1 แมวมีกี่ขา 1.2.2 เมื่อวันจันทร์เราฟังนิทานเรื่องอะไร
1.3 คำถามให้บอกความหมายหรือคำจำกัดความเช่น
1.3.1 สัตว์เลี้ยงหมายความว่าอะไร 1.3.2 รับประทานหมายความว่าอะไร 1.4 คำถามบ่งชี้เช่น
1.4.1 จากนิทานที่เด็กๆฟังคิดว่าใครใจดีที่สุด 1.4.2 เด็กคิดว่าใครผมสั้นที่สุดในห้องเรียนของเรา 2. คำถามเพื่อการคิดค้นและขยายความคิดเป็นคำถามที่มุ่งให้เด็กใช้ความคิดโดยนำความรู้และประสบการณ์เดิมเป็นพื้นฐานในการคิดคำถามประเภทได้แก่
 2.1 คำถามให้อธิบายเช่น
2.1.1 เด็กนักเรียนมีหน้าที่ 2.5 คำถามให้สรุปเช่น
2.5.1 นิทานเรื่องนี้สอนเด็กๆในเรื่องใดบ้าง 2.5.2 ฟังเรื่องราวนี้แล้วเด็กๆคิดอย่างไร 2.6 คำถามให้ประเมินหรือตัดสินใจ
2.6.1 อดน้ำกับอดข้าวอย่างใดร้ายแรงกว่ากัน 2.6.2 ถ้าให้เด็กๆเลือกเด็กๆอยากเป็นใครในนิทาน

ช่วงบ่าย
พัฒนาการเล่น (Blocks)
ขั้นที่ 1 สำรวจถือไปถือมา
ขั้นที่ 2 ใช้บล็อกต่อเป็นแนวตั้ง และแนวนอน
ขั้นที่ 3 ต่อเป็นสะพาน
ขั้นที่ 4 ล้อมปิดกั้น
ขั้นที่ 5 สร้างสิ่งต่างๆ ให้ชื่อสิ่งก่อสร้าง
ขั้นที่ 6 สร้างและเล่นบทบาทสมมติ

พัฒนาการโดยใช้กรรไกร
ขั้นที่ 1 ตัดทีละนิด (2-3 ปี)
ขั้นที่ 2 ตัด (3 ปี) ตัดกระดาษออกจากกัน
ขั้นที่ 3 ตัดตามเส้น ตัดตามแนวนอนและแนวตั้ง (3-4 ปี)
ขั้นที่ 4 ตัดตามเส้นโค้ง (4-5 ปี)
ขั้นที่ 5 ตัดภาพ (5-6 ปี)

 บรรยากาศในการอบรม







assessment


 Self-assessment
  1. เข้าเรียนตรงต่อเวลา
  2. แต่งกายถูกระเบียบ
  3. ต้องใจฟัง ผศ.ดร.กรรณิการ์ สุสม 
  4. นำสมุดมาจดบันทึกในขณะที่อาจารย์สอน
  5. ได้ร่วมทำกิจกรรมกับเพื่อน
Teacher evaluation
  1. อาจารย์มาตรงเวลา
  2. อาจารย์อธิบายรายละเอียดของวิชาที่จะเรียนได้ชัดเจน
  3. อาจารย์ยิ้มแย้มแจ่มใส ทำให้การเรียนวันนี้ไม่เครียด ตึง เกินไป
  4. อาจารย์ดุมากวันนี้
  5. อาจารย์มีความยืดหยุ่นในการเรียน
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปเคลื่อนไหวจบการนำเสนอ








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น