วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2562

 Learning notes 10


7 October 2019 Attendance time 08:30 - 12:30



 Knowledge gained today 
วันนี้เป็นวันเรียนรวมทั้ง 2 เซก 

เรียนเรื่อง Project Approach

การสอน 3 ระยะของ Project Approach

การเรียนรู้แบบ Project Approach แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
     ระยะที่ 1 : การเริ่มต้นโครงการ คุณครูร่วมกันอภิปรายหัวข้อกับเด็ก ๆ เพื่อค้นหาประสบการณ์ที่เด็กมี สิ่งที่เด็กรู้แล้ว และสิ่งที่เด็กอยากรู้ เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ และแสดงความเข้าใจแนวคิดที่เกี่ยวข้อง จากการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน คุณครูจะใช้คำถามถาม เพื่อกระตุ้นให้เด็กตอบคำถาม และทำจดหมายเกี่ยวกับหัวเรื่องการเรียนรู้ของโครงการส่งกับบ้านถึงผู้ปกครอง เพื่อสนับสนุนให้ผู้ปกครองได้พูดคุยกับลูกเกี่ยวกับหัวข้อนั้น ๆ และแบ่งปันความรู้ให้กับเด็ก ๆ เพื่อเด็กจะได้นำความรู้ใหม่ ๆ ที่ได้รับมาพูดคุยแลกเปลี่ยนกับเพื่อน ๆ ในห้องต่อไป
     ระยะที่ 2 : การพัฒนาโครงการ ขั้นตอนนี้จะเป็นการจัดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้ทำงานภาคสนามและพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่เด็กสนใจเรียนรู้ โดยคุณครูจะเป็นผู้จัดหาทรัพยาการต่าง ๆ เช่น หนังสือ เอกสารงานวิจัย พร้อมทั้งแนะนำวิธีการตรวจสอบที่หลากหลายให้กับเด็ก เพื่อช่วยเด็กในการสืบค้นและรวบรวมข้อมูลด้วยวัตถุจริง เปิดโอกาสให้เด็กแต่ละคนมีส่วนร่วมในการเป็นตัวแทนของสิ่งที่เค้ากำลังสืบค้น และช่วยให้เด็กสามารถทำงานตามความสามารถของตัวเองได้ เช่น บางคนมีทักษะพื้นฐานด้านงานประดิษฐ์ การวาดภาพ การนำเสนอ และการเล่นละคร โดยคุณครูช่วยสนับสนุนให้เด็กได้ทำงานตามความถนัดของแต่ละคนผ่านการอภิปรายในห้องเรียน ซึ่งหัวข้อของ Mind Map ที่ออกแบบไว้ก่อนหน้า จะให้ข้อมูลย่อเกี่ยวกับความคืบหน้าของโครงการ
     ระยะที่ 3 : การสรุปโครงการ เด็กและคุณครูร่วมกันจัดนิทรรศการ โดยให้เด็กแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้เกี่ยวกับหัวข้อ Project Approach ให้เด็ก ๆ ช่วยกันอภิปรายถึงหลักฐานที่สืบค้น เปรียบเทียบการตั้งสมมุติฐานว่าตรงกันหรือไม่ เล่าเรื่องโครงการของพวกเขาให้ผู้อื่นฟัง โดยเน้นจุดเด่นของโครงการ คุณครูและผู้ปกครองช่วยเด็ก ๆ วางแผนการดำเนินการ พร้อมเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งที่เด็ก ๆ ทำและค้นพบ อย่างเต็มความสามารถ ความสนุกสนาน ความกระตือรือร้นและความภูมิใจในตัวเด็กผ่านผลงานต่าง ๆ ทั้งนี้ครูควรบันทึกความคิดและความสนใจของเด็กในระหว่างการทำโครงการ เพื่อเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงทางความสนใจ ความรู้ และความคิดของเด็ก ๆ ว่าก่อนเริ่มโครงการและหลังจากสรุปโครงการมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร และเพื่อเป็นแนวทางในการหาหัวข้อของโครงการในครั้งต่อไป
อาจารย์ให้จับคู่ 5 คน ให้ทำเรื่องการเขียนแบบ Project Approach
วิธีการ (สิ่งของที่อยู่ในห้องเรียน)
หยิบมา 1 แผ่น ปรึกษาหารือกันว่า อยากรู้เรื่องอะไร
พอได้เรื่องที่อยากรู้ ให้ตั้งคำถามที่อยากรู้ หลังจากนั้นให้แสดงความคิดเห็น ตกลงกัน อยากรู้เพราะอะไร แสดงความคิดเห็น แล้วนำมาสรุป

นกลุ่มของดิฉันได้หัวข้อเรื่อง กระดาษ


อยากรู้เรื่องอะไร ? 
  น้องแพท : อยากรู้เรื่อง กระดาษ
  น้องแป้งเล็ก : อยากรู้เรื่อง หลอดไฟ
  น้องแป้งใหญ : อยากรู้เรื่อง หนังสือ
  น้องซี : อยากรู้เรื่อง โต๊ะ
  น้องบี : อยากรู้เรื่อง รองเท้า

สรุป เรื่องกระดาษ อยากรู้เพราะว่ากระดาษเป็นสิ่งที่ใกล้เด็ก เด็กได้ใช้กระดาษในการทำชิ้นงาน จึงอยากรู้ว่ากระดาษในการทำกิจกรรมจะสามารถใช้แทนกระดาษได้บ้าง


ลังจากนั้นก็ถามประสบการณ์เดิมของเด็ก
  น้องแพท : เคยเจอที่ห้องนอน
  น้องแป้งเล็ก : เคยเจอที่ รร.
  น้องแป้งใหญ : เคยเจอที่ห้องสมุด
  น้องซี : เคยใช้กระดาษระบายสี
  น้องบี : ใช้กระดาษวาดรูป
หลังจากนั้นก็ให้เด็กวาดรูปสิ่งที่เคยที่ไหนบ้าง

หลังจากทำเสร็จก็หาคำตอบ และสรุปลงในแผ่นชาร์จ

กำลังช่วยกันติดลงในแผ่นชาร์จ

Project Approach เรื่องกระดาษ
เสร็จสมบรูณ์แบบ พร้อมนำเสนอ

ต่อไปจะเป็นงานของเพื่อนๆ

Project Approach เรื่อง ดินสอ

Project Approach เรื่อง กระเป๋า
Project Approach เรื่อง รองเท้า
Project Approach เรื่อง กระดุม
Project Approach เรื่อง กระเป๋า

Project Approach เรื่อง ดินสอ
Project Approach เรื่อง แอร์
หลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้ออกมานำเสนอแต่ละกลุ่ม
 กลุ่มดิฉัน เรื่อง Project Approach เรื่องกระดาษ
สิ่งที่ต้องแก้ไข
 เนื้อหาใส่ผิดที่ อาจเกิดจากการที่เราสับสนให้กลับไปแก้ไขให้ดีกว่านี้

assessment


 Self-assessment
  1. เข้าเรียนตรงต่อเวลา
  2. แต่งกายถูกระเบียบ
  3. ต้องใจฟังอาจารย์
  4. นำสมุดมาจดบันทึกในขณะที่อาจารย์สอน
  5. ได้ร่วมทำกิจกรรมกับเพื่อน
  6. ได้ออกมานำเสนอ Project Approach เรื่องกระดาษ
Teacher evaluation
  1. อาจารย์มาตรงเวลา
  2. อาจารย์อธิบายรายละเอียดของวิชาที่จะเรียนได้ชัดเจน
  3. อาจารย์ยิ้มแย้มแจ่มใส ทำให้การเรียนวันนี้ไม่เครียด ตึง เกินไป
  4. อาจารย์ดุมากวันนี้
  5. อาจารย์มีความยืดหยุ่นในการเรียน
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปเคลื่อนไหวจบการนำเสนอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น