วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2562

 Learning notes 13


18 November  2019  Attendance time 08:30 - 12:30


 Knowledge gained today 
  
 เอ็ดการ์ เดล  เชื่อว่าประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรม จะทำให้เกิดการเรียนรู้แตกต่างจากประสบการณ์ที่เป็นนามธรรม ดังนั้น จึงจำแนกสื่อการสอนโดยยึดประสบการณ์เป็นหลัก  เรียงตามลำดับจากประสบการณ์ที่ง่ายไปยาก 10 ขั้น เรียกว่า กรวยประสบการณ์ (Cone of Experience) ดังรูป


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กรวยแห่งการเรียนรู้

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กรวยแห่งการเรียนรู้

ขั้นตอนของประสบการณ์การเรียนรู้และการใช้สื่อแต่ละประเภทดังนี้
  ขั้นที่ 1 ประสบการณ์ตรง  (Direct  Purposeful  Experience)
       เป็นประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง เช่น เล่นกีฬา ทำอาหาร ปลูกพืชผัก หรือเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น

 ขั้นที่ 2 ประสบการณ์จำลอง  (Contrived Simulation Experience)
           เป็นกรณีที่ประสบการณ์หรือของจริงมีข้อจำกัดจำเป็นต้องจำลองสิ่งต่างๆ เหล่านั้นมาศึกษาแทน  
  เช่น หุ่นจำลอง ของตัวอย่าง การแสดงเหตุการณ์จำลองทางดาราศาสตร์  เป็นต้น

 ขั้นที่ 3 ประสบการณ์นาฏการ  (Dramatized Experience) 
    เป็นประสบการณ์ที่จัดขึ้นแทนประสบการณ์ตรงหรือเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในอดีตหรืออาจเป็นความคิด ความฝัน สามารถเรียนด้วยประสบการณ์ ตรงหรือประสบการณ์จำลองได้  เช่น การแสดงละคร  บทบาทสมมุติ เป็นต้น

 ขั้นที่ 4  การสาธิต (Demonstration) 
          เป็นการอธิบายข้อเท็จจริงลำดับความคิดหรือกระบวนการเหมาะสมกับเนื้อหาที่ต้องการความ เข้าใจ ความชำนาญหรือทักษะ เช่น การสาธิต การผายปอด การสาธิตการเล่นของครูพละ เป็นต้น

 ขั้นที่ 5 การศึกษานอกสถานที่ (Field Trip) 
          เป็นประสบการณ์เรียนรู้ที่ได้จากแหล่งความรู้ภายนอกห้องเรียนในสภาพจริง  เพื่อเปิดโอกาสให้
นักเรียนรู้หลายด้าน  ได้แก่  การศึกษาความรู้จากสถานที่สำคัญ  เช่น  โบราณสถาน  โรงงาน
อุตสาหกรรม  เป็นต้น 

 ขั้นที่ 6  นิทรรศการ (Exhibition) 
       เป็นการจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้รับด้วยการดูเป็นส่วนใหญ่อาจจัดแสดงสิ่งต่างๆ เช่น ของ
จริง หุ่นจำลอง วัสดุสาธิต แผนภูมิ  ภาพยนตร์ เป็นต้น

 ขั้นที่ 7 ภาพยนตร์ /โทรทัศน์ (Motion Picture / Television) 
       เป็นประสบการณ์ที่ให้ทั้งภาพเคลื่อนไหวและเสียงประกอบ   แต่โทรทัศน์มีความเป็นรูปธรรม
มากกว่าภาพยนตร์  เนื่องจากโทรทัศน์สามารถนำเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ในขณะนั้นมาให้ชมได้ใน
เวลาเดียวกันที่เรียกว่า “การถ่ายทอดสด” ในขณะที่ภาพยนตร์เป็น การบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และ
ต้องผ่านกระบวนการล้างและตัดต่อฟิล์มก่อนจึงจะนำมาฉายให้ชมได้

 ขั้นที่ 8 ภาพนิ่ง/การบันทึกเสียง  (Picture/Recording) 
เป็นประสบการณ์ที่รับรู้ได้ทางใดทางหนึ่งระหว่างการฟังและการพูด ซึ่งนับเป็นนามธรรม
มากขึ้น ได้แก่  เทปบันทึกเสียง  แผ่นเสียง ซึ่งต้องอาศัยเรื่องการขยายเสียง  ส่วนภาพนิ่ง  ได้แก่  รูปภาพทั้งชนิดโปร่งแสงที่ใช้กับเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ สไลด์ภาพนิ่งจากคอมพิวเตอร์  และ ภาพบันทึกเสียง ที่ใช้กับเครื่องฉายภาพทึบแสง เป็นต้น

 ขั้นที่ 9 ทัศนสัญลักษณ์  (Visual Symbol) 
          เป็นสัญลักษณ์ที่สามารถรับรู้ได้ด้วยระบบประสาทสัมผัสทางตา มีความเป็นนามธรรมมากขึ้น  
จำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงประสบการณ์ของผู้เรียนเป็นพื้นฐาน  คือ  แผนภูมิ  ภาพโฆษณา  การ์ตูน  แผนที่  
และสัญลักษณ์ต่างๆ

 ขั้นที่  10 วจนสัญลักษณ์ (Verbal Symbol) 

       เป็นสัญลักษณ์ทางภาษา เป็นประสบการณ์ขั้นสุดท้าย  ซึ่งเป็นนามธรรมมากที่สุด  ได้แก่  การใช้ตัวหนังสือแทนคำพูด ได้แก่ คำพูด คำอธิบาย หนังสือ เอกสาร แผ่นปลิว แผ่นพับ ที่ใช้ตัวอักษร ตัวเลข แทนความหมายของสิ่งต่าง ๆ นับเป็นประสบการณ์ที่เป็นนามธรรมมากที่สุด 

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

EF ( Executive Function )  ที่สำคัญมีทั้งหมด 9 ด้าน
 1.ทักษะความจำที่นำมาใช้งาน (Working Memory) คือทักษะจำหรือเก็บข้อมูลจากประสบการณ์ที่ผ่านมา และดึงมาใช้ประโยชน์ตามสถานการณ์ที่พบเจอ
 2.ทักษะการยับยั้งชั่งใจ-คิดไตร่ตรอง (Inhibitory Control) คือความสามารถในการควบคุมความต้องการของตนเองให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เด็กที่ขาดความยับยั้งชั่งใจจะเหมือน "รถที่ขาดเบรก" อาจทำสิ่งใดโดยไม่คิด มีปฏิกิริยาในทางที่ก่อให้เกิดปัญหาได้
 3.ทักษะการยืดหยุ่นความคิด (Shift Cognitive Flexibility) คือความสามารถในการยืดหยุ่นหรือปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ ไม่ยึดตายตัว
 4.ทักษะการใส่ใจจดจ่อ (Focus) คือความสามารถในการใส่ใจจดจ่อ มุ่งความสนใจอยู่กับสิ่งที่ทำอย่าง ต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่ง
 5.การควบคุมอารมณ์ (Emotion Control) คือ ความสามารถในการควบคุมแสดงออกทางอารมณ์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เด็กที่ควบคุมอารมณ์ตัวเอง ไม่ได้ มักเป็นคนโกรธเกรี้ยว ฉุนเฉียว และอาจมีอาการซึมเศร้า
 6.การประเมินตัวเอง (Self-Monitoring) คือการสะท้อนการกระทำของตนเอง รู้จักตนเอง รวมถึงการประเมินการงานเพื่อหาข้อบกพร่อง
 7.การริเริ่มและลงมือทำ (Initiating) คือ ความสามารถในการริเริ่มและลงมือทำตามที่คิด ไม่กลัวความล้มเหลว ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง
 8.การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ (Planning and Organizing) คือทักษะการทำงาน ตั้งแต่การตั้งเป้าหมาย การวางแผน การมองเห็นภาพรวม ซึ่งเด็กที่ขาดทักษะนี้จะวางแผนไม่เป็น ทำให้งานมีปัญหา
 9.การมุ่งเป้าหมาย (Goal-Directed Persistence) คือ ความพากเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย เมื่อตั้งใจและลงมือทำสิ่งใดแล้ว ก็มีความมุ่งมั่นอดทน ไม่ว่าจะมีอุปสรรคใดๆ ก็พร้อมฝ่าฟันให้สำเร็จ

assessment


 Self-assessment
  1. เข้าเรียนตรงต่อเวลา
  2. แต่งกายถูกระเบียบ
  3. ต้องใจฟัง
  4. นำสมุดมาจดบันทึกในขณะที่อาจารย์สอน
Teacher evaluation
  1. อาจารย์มาตรงเวลา
  2. อาจารย์อธิบายรายละเอียดของวิชาที่จะเรียนได้ชัดเจน
  3. อาจารย์ยิ้มแย้มแจ่มใส ทำให้การเรียนวันนี้ไม่เครียด ตึง เกินไป
  4. อาจารย์ดุมากวันนี้ อาจเป็นเพราะอาจารย์อยากให้เราได้ความรู้
  5. อาจารย์มีความยืดหยุ่นในการเรียน
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปเคลื่อนไหวจบการนำเสนอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น